วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

กรมชลประทาน เร่งแก้ไขปัญหาน้ำภาคตะวันออก ตามมติ กรอ.

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้มีมติให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เร่งรัดแก้ไขปัญหาน้ำภาคตะวันออกโดยเร็ว เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ โดยให้กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ดังนี้

จังหวัดระยอง กรมชลประทาน มีแผนดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ ไปลงอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรือ East – Water เข้ามาร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูบน้ำ ซึ่งมีแผนการสูบน้ำตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2558 รวมปริมาณน้ำทั้งสิ้นประมาณ 84 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2557 ปริมาณน้ำที่สูบประมาณ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร และช่วงที่สอง ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2558 ปริมาณน้ำประมาณ 54 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลการสูบผันน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. – 28 ก.ย. 57 ได้ปริมาณน้ำประมาณ 9.22 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังคงมีการสูบผันน้ำอย่างต่อเนื่องตามแผนที่ได้วางไว้ เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอใช้งานไปจนถึงสิ้นฤดูแล้ง(30 เม.ย. 58)

จังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยเช่นเดียวกับจังหวัดระยอง แต่เนื่องจากการสูบผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงไปลงอ่างเก็บน้ำบางพระ มีข้อจำกัดเรื่องระดับน้ำต่ำกว่าปกติ จึงไม่สามารถสำรองน้ำได้ตามแผน ประกอบกับในช่วงเดือนพฤษจิกายน 2557 นี้ ความเค็มในแม่น้ำบางปะกงจะสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำมาสำรองได้อีก จึงมีความจำเป็นต้องใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง ที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเต็มอ่างฯ มาช่วยเสริมเป็นแหล่งน้ำต้นทุนหลัก นอกจากนี้ จะได้เร่งดำเนินการก่อสร้างรางคอนกรีตตามแนวคลองน้ำแดง ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ที่เป็นคลองเชื่อมระหว่างอ่างเก็บน้ำประแสร์และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ โดยดำเนินการก่อสร้างควบคู่ไปกับการผันน้ำ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษยน 2558 นี้

นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังมีแผนเพิ่มศักยภาพความจุอ่างเก็บน้ำในจังหวัดระยอง และระบบสูบผันน้ำในจังหวัดชลบุรี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2558 คือ การเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 47 ล้านลูกบาศก์เมตร, การเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำดอกกราย มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 10.6 ล้านลูกบาศก์เมตร , การศึกษาความเหมาะสมในการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล , การก่อสร้างสถานีสูบน้ำคลองชลประทานพานทองเชื่อมต่อระบบท่อผันน้ำคลองพระองค์ไชยานุชิต- อ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบสูบน้ำคลองพระองค์ไชยานุชิต- อ่างเก็บน้ำบางพระ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจ-ออกแบบ

**************************************

30 กันยายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำแม่ถาง จ.แพร่ เสร็จแล้ว พร้อมส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้อย่างเต็มศักยภาพ

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่ถาง จ.แพร่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ด้านท้ายอ่างฯกว่า 20,000 ไร่

สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่ถาง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ กรมชลประทาน ได้ดำเนินก่อสร้างขึ้นตามความต้องการของราษฎรในพื้นที่ ที่ต้องการให้มีการสร้างแหล่งน้ำไว้ใช้ เนื่องจากประสบกับปัญหาภัยแล้งและน้ำไม่พอใช้ทำการเกษตร มีลักษณะของอ่างเก็บน้ำ เป็นเขื่อนดิน ยาว 220 เมตร ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี 2538 สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 30.62 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่การเกษตรด้านท้ายอ่างฯได้รับประโยชน์ ในช่วงฤดูฝนประมาณ 20,000 ไร่ และในช่วงฤดูแล้งประมาณ 8,500 ไร่

ปัจจุบันกรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบคลองส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่ถาง ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในช่วงฤดูฝนปีนี้ สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานแพร่ได้ประมาณ 14,000 ไร่ ส่วนในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงอีกในไม่ช้านี้ คาดว่าจะสามารถส่งน้ำเพื่อสนับสนุนพื้นที่การเกษตรด้านท้ายอ่างฯได้อย่างเต็มศักยภาพเช่นกัน

**********************************

25 กันยายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเมืองชลบุรี : ผันน้ำจากบางปะกงลงอ่างฯบางพระ เพิ่มน้ำสำรองไว้ใช้ในหน้าแล้งนี้

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะเป็นช่วงฤดูฝน แต่กลับพบว่าปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ในช่วงต้นฤดูมาจนถึงเดือนกันยายน มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ซึ่งส่งผลให้มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีน้อยลงตามไปด้วย และมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งได้ หากไม่มีมาตรการในการแก้ไข

จังหวัดชลบุรี มีแหล่งน้ำต้นทุนประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน อ่างเก็บน้ำซากนอก อ่างเก็บน้ำหนองกลางดง อ่างเก็บน้ำห้วยสะพาน และอ่างเก็บน้ำห้วยขุนจิต ปัจจุบัน(19 ก.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 55 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้ประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร

คาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนปีนี้ ในกรณีที่เกิดฝนตกในเกณฑ์ปกติ จะมีน้ำต้นทุนรวมกันประมาณ 90 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ แต่หากมีฝนตกน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติตลอดฤดูฝน อาจจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำได้ในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง

ดังนั้น กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานชลบุรี จึงได้วางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ด้วยการผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงไปลงอ่างเก็บน้ำบางพระ ตลอดในช่วงฤดูฝนคิดเป็นปริมาณน้ำประมาณ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณน้ำที่เพียงพอใช้ ตลอดในช่วงฤดูแล้งที่จะถึงนี้ อย่างไม่ขาดแคลน

สำหรับแผนระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของจังหวัดชลบุรี กรมชลประทาน ได้วางมาตรการไว้ ดังนี้ โครงการก่อสร้างระบบท่อผันน้ำคลองพระองค์ไชยานุชิต - อ่างเก็บน้ำบางพระ คาดว่าจะเริ่มสูบน้ำได้ประมาณเดือนธันวาคม 2557 , โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำคลองชลประทานพานทองเชื่อมต่อระหว่างระบบท่อผันน้ำคลองพระองค์ไชยานุชิต-อ่างเก็บน้ำบางพระ เพิ่มปริมาณน้ำได้ 70 ล้าน ลบ.ม. อยู่ในระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากโครงการต่างๆที่กล่าวมา ดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับการใช้น้ำที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการขยายตัวทั้งภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดชลบุรี ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

**************************************

19 กันยายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา : เขื่อนใหญ่ภาคเหนือ พร้อมรับน้ำจากอิทธิพลของพายุ “คัลแมกี”

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(17 ก.ย. 57) ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,109 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,309 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,171 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,321 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 569 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 526 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 592 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 589 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 13,400 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา(17 ก.ย.) สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 845 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(รับน้ำได้สูงสุด 3,590 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 5.59 เมตร สถานี C.13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 702 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(รับน้ำได้สูงสุด 2,840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อน ยังต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 6.30 เมตร และที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,285 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง ประมาณ 2.52เมตร (ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านอ.บางไทร เป็นจุดวัดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีความสามารถรับน้ำได้สูงสุด 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีแนวโน้มลดลง

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย และยังคงมีพื้นที่รองรับน้ำได้มากพอสมควร หากได้รับอิทธิพลจากพายุ “คัลแมกี” ที่อาจจะส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ทางตอนบนได้ในระยะนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีในการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

**************************************************

17 กันยายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

เขื่อนใหญ่หลายแห่งน้ำยังน้อย ย้ำปฏิบัติตามแผนจัดสรรน้ำและปลูกพืชอย่างเคร่งครัด ลดเสี่ยงขาดน้ำ

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(15 ก.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 40,641 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 29,600 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 161 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,082 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,121 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 552 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 13,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 68 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 431 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 1,202 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 152 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 585 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 118 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 174 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 186 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าเขื่อนใหญ่บางแห่งจะมีน้ำเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงขอให้เกษตรกรในพื้นที่ท้ายเขื่อน ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งปฏิบัติตามแผนการใช้น้ำและการปลูกพืชตามที่ทางโครงการชลประทานในพื้นที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ไม่ขาดแคลน

15 กันยายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา : ภาคเหนือใกล้หมดฝนแล้ว น้ำในเขื่อนยังค่อนข้างน้อย เน้นเก็บให้มากที่สุด

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(12 ก.ย. 57) ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,029 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,229 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,049 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,199 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 531 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 488 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 555 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 552 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 13,700 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา(12 ก.ย.) สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,105 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(รับน้ำได้สูงสุด 3,590 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 4.82 เมตร สถานี C.13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 997 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(รับน้ำได้สูงสุด 2,840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อน ยังต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 5.08 เมตร และที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,301 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง ประมาณ 2.28เมตร (ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านอ.บางไทร เป็นจุดวัดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีความสามารถรับน้ำได้สูงสุด 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีแนวโน้มลดลง

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา นั้น ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย ในขณะที่ฤดูฝนทางภาคเหนือเหลือระยะเวลาอีกไม่มากแล้ว จึงต้องเน้นเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงขอให้เกษตกรเน้นการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมขอให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด

**************************************************

12 กันยายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th/

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : ย้ำต้องประหยัด น้ำในเขื่อนหลายแห่งยังมีน้อย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(10 ก.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 39,917 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 30,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,981 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,981 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 511 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 13,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 437 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 1,194 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 507 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 164 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯ เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 64 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าฤดูฝนปีนี้เหลือเวลาอีกไม่นาน แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ยังคงมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย จึงขอให้เกษตรกรในพื้นที่ท้ายเขื่อน เน้นการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติให้มากที่สุด และช่วยกันประหยัดน้ำอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ อย่างเพียงพอไม่ขาดแคลน

10 กันยายน 2557

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

งานเกษียณอายุราชการปี2557โครงการส่งน้ำฯพระพิมล

ผอ.คบ.พระพิมลออกตรวจสถานีสูบน้ำคลองโยง

ผอ.คบ.พระพิมล(นายชัยพร  พรหมสุวรรณ) หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำฯ(นายทวีวัฒน์  สืบสุขมั่นสกุล)และหัวหน้าฝ่ายช่างกล(นายกระวิน โพธิ์นาคเงิน)ออกตรวจสถานีสูบน้ำคลองโยงเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันน้ำหลากปี2557

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน วันที่ 22 กรกฎาคม 2557

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำ : เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำไหลลงอ่างฯบ้างแล้ว แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย ย้ำต้องประหยัด

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(22 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,323 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 37,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 57 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,047 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,254 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 331 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 459 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 4,700 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 49 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 137 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่หลายแห่ง แม้จะเริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯบ้างแล้ว แต่ยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากฝนที่ตกลงมา ยังคงมีค่าน้อยกว่าค่าปกติ ทำให้น้ำไหลเข้าอ่างฯต่างๆน้อยตามไปด้วย ดังนั้น จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

22 กรกฎาคม 2557

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 18 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

โครงการผันน้ำฯเจ้าพระยาตะวันออกไปอ่างฯบางพระใกล้แล้วเสร็จ คืบหน้ากว่าร้อยละ 98

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก – อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ด้วยความคืบหน้ากว่าร้อยละ 98 คาดว่าจะช่วยเสริมศักยภาพการใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ รองรับความต้องการใช้น้ำที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตของจังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อปี 2548 ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยอง ซึ่งเป็นเมืองแห่งการเกษตร การท่องเที่ยว และการอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก จนเกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชลบุรี แม้จะมีอ่างเก็บน้ำบางพระ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญ มีความจุเก็บกักน้ำได้สูงสุดถึง 117 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่กลับพบว่ามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเฉลี่ยประมาณ 41 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเท่านั้น จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในพื้นที่ โดยเฉพาะในอนาคตข้างหน้า ที่แนวโน้มความต้องการในการใช้น้ำจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และรองรับปริมาณการใช้น้ำที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินโครงการผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก – อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี โดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบบท่อส่งน้ำ จากคลองพระองค์ไชยานุชิตบริเวณจุดตัดกับมอเตอร์เวย์ พร้อมกับวางท่อผันน้ำขนานไปกับถนนมอเตอร์เวย์ เพื่อส่งน้ำไปเติมให้กับอ่างเก็บน้ำบางพระ ที่อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ปีละประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯนั้น จะทำการสูบน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิตในช่วงฤดูฝน คือ เดือนมิถุนายน – ตุลาคม เพื่อส่งน้ำตามท่อไปเก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำบางพระทั้งหมด ปีละประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในเขตจ.ชลบุรี ซึ่งโดยปกติในช่วง 5 เดือนดังกล่าว จะมีการสูบน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิตทิ้งลงทะเลเกือบปีละ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นการนำน้ำส่วนเกินเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งช่วยลดปริมาณน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากในคลองพระองค์ไชยานุชิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ปัจจุบัน ผลการดำเนินการโครงการผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก – อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 98 คาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งโครงการฯได้ประมาณเดือนมกราคม 2558

*********************************

18 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 15 กรกฎาคม 2557

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : น้ำยังน้อย ต้องช่วยกันประหยัด

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(15 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 32,783 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้อีกกว่า 37,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,007 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,188 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 121 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 254 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 373 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 23 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 34 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 135 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนหลายแห่ง ยังคงมีน้ำค่อนข้างน้อย เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาในพื้นที่เหนือเขื่อน มีค่าน้อยกว่าค่าปกติ จึงทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยตามไปด้วย จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

15 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน10 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : น้ำในเขื่อนยังน้อย เตือนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(10 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 32,663 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 37,600 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,045 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,184 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 227 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 366 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 69 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 134 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่ง ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝนก็ตาม เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมามีค่าน้อยกว่าค่าปกติ ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยตามไปด้วย จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

10 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 9 กรกฎาคม 2557

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

ฝนนี้น้ำน้อย เตือนทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคต

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ฤดูฝนปีนี้ ฝนตกน้อยทั้งในพื้นที่เหนือเขื่อนและใต้เขื่อน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อยตามไปด้วย ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต

ทั้งนี้ จากการติดตามสภาพฝนตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นมา พบว่ามีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าค่าปกติ หรือมีฝนตกในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นฤดูฝนเดือนพ.ค. – มิ.ย. 57 มีปริมาณฝนตกค่อนข้างน้อย สภาพฝนสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. – 6 ก.ค. 57 พื้นที่ภาคเหนือ มีฝนต่ำกว่าค่าปกติ 128.4 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ27 ของค่าปกติ ส่วนในพื้นที่ภาคกลาง มีฝนต่ำกว่าค่าปกติ 134 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของค่าปกติ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำต่างๆในเกณฑ์น้อย และต้องระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าแผนที่วางไว้ เพื่อเสริมน้ำฝนที่ตกน้อยกว่าปกติ จนส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์น้ำล่าสุด(9 ก.ค. 57) เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำใช้การได้ 257 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 327 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำใช้การได้ของทั้งสองเขื่อน จะเห็นได้ว่ามีน้ำเหลือใช้ได้เพียง 584 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ในส่วนของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีน้ำใช้การได้ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 68 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปัจจุบันมีการระบายน้ำจากเขื่อนทั้ง 4 แห่ง ดังกล่าวข้างต้น รวมกันวันละประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร หากคิดการระบายน้ำด้วยอัตราดังกล่าว จะสามารถส่งน้ำได้เพียงประมาณ 15 วันเท่านั้น(กรณีไม่คิดปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ) กรมชลประทาน ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจมีการปรับแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ในการอุปโภค – บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ พร้อมทั้งไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้ดำเนินการเพาะปลูกไปแล้ว

ดังนั้น กรมชลประทาน จึงใคร่ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ รับทราบถึงสถานการณ์น้ำต้นทุนในปัจจุบัน พร้อมทั้งให้รณรงค์ช่วยกันประหยัดน้ำ และขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้น้ำจากเจ้าหน้าที่ชลประทานในพื้นที่ของตนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในระยะต่อๆไป ซึ่งอาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฝนตกน้อยได้ รวมทั้ง ขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วย

********************************************

9 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน2 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : เหนือเขื่อนฝนยังตกน้อย ส่งผลน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ น้อยตามไปด้วย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(2 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,140 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 37,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 107 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯเขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,187 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,257 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 128 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 199 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 376 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 168 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,100 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 84 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานีมีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของความจุอ่างฯ เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 135 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในเกณฑ์น้อย แม้จะเข้าสู่ฤดูฝนมาได้ระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ซึ่งกรมชลประทานและกฟผ. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับวางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน พร้อมไปกับการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด สำหรับสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้านี้อย่างเพียงพอ

2 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 26 มิถุนายน 2557

 

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ : เข้าฝนแล้ว แต่ยังตกน้อย ทำให้น้ำไหลลงอ่างฯน้อยตามไปด้วย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(26 มิ.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,443 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 36,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,304 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,322 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 139 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,600 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 187 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 370 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,200 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 92 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 146 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาควันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศ แม้ขณะนี้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างน้อย เนื่องจากฝนที่ตกลงมายังอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งกรมชลประทาน ได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานทั่วประเทศ ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน

26 มิถุนายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 18 มิถุนายน 2557

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ : ส่วนใหญ่น้ำยังไหลลงอ่างฯในเกณฑ์น้อย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(18 มิ.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,800 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 36,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,450 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,395 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 143 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 184 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 368 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 94 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 159 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาควันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ปริมาณน้ำยังคงทรงตัว บางแห่งมีน้ำไหลลงอ่างฯบ้างแล้ว แต่หลายแห่งยังมีน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานทั่วประเทศ ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน และให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วย

18 มิถุนายน 2557

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 24 เมษายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

น้ำต้นทุนเจ้าพระยาลดต่ำลงต่อเนื่อง เตือนใช้เกินแผนไปมากแล้ว

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(24 เม.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 10,056 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 3,360 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 18 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,442 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,642 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,129 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,279 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 246 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 203 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 239 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 236 ล้านลูกบาศก์เมตร

ผลการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(24 เม.ย. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 7,025 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 133 ของแผนฯ จะเห็นได้ว่าการใช้น้ำยังคงเกินแผนอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือให้เกษตรกรและประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำอย่างจริงจัง ที่สำคัญควรงดทำนาปรังต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองอย่างเพียงพอ สำหรับสนับสนุนการใช้น้ำในการทำนาปี ช่วงต้นฤดูฝนที่ใกล้จะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

**************************

หมายเหตุ – ฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. – 30 เม.ย. ของทุกปี 24 เมษายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 22 เมษายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

น้ำใช้การได้ในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียงร้อยละ 18 วอนประหยัดน้ำ

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ที่สุดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา(ณ 22 เม.ย. 57) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,457 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,657 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,146 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,296 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำที่ใช้การได้ จำนวน 2,953 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพียงร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯรวมกัน

จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งสองแห่ง ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ คงเหลือปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้เพียงร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯรวมกัน ในขณะที่ยังต้องส่งน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค และการรักษาระบบนิเวศน์ อย่างต่อเนื่อง ก่อนจะสิ้นสุดฤดูแล้งในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งยังต้องสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนหน้า ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง พบว่ายังคงมีเกษตรกรบางส่วน ได้ทำนาปรังอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทางกรมชลประทาน ได้ประกาศงดส่งน้ำสำหรับทำนาปรังไปแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อผลผลิตที่อาจจะเกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดทำนาปรังต่อเนื่อง พร้อมทั้งขอให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่าฤดูฝนปีนี้มีแนวโน้มจะมาล่าช้ากว่าปกติ จึงต้องสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน รวมไปถึงในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปีด้วย

**************************

22 เมษายน 2557

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน วันที่ 9 เมษายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ แม้ในหลายพื้นที่น้ำจะน้อย กรมชลฯเตรียมสนับสนุนน้ำ มอบความสุขให้ทุกคน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(9 เม.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 39,763 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 162 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,577 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,291 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 272 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 193 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 412 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 199 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯ

สำหรับในพื้นที่ภาคกลาง ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 272 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯ

อนึ่ง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ กรมชลประทาน ได้ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย โดยการสนับสนุนน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆทั่วประเทศ ส่งมอบความสุขให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งจะไม่ให้กระทบต่อปริมาณน้ำที่มีอยู่ เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ พร้อมกันนี้ ขอให้ทุกท่านที่เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เดินทางด้วยความปลอดภัย และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพทุกท่าน...

**************************

9 เมษายน 2557

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน วันที่ 3 เมษายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

น้ำใช้การได้ในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เหลือเพียงร้อยละ 21 เตือนให้ประหยัดก่อนขาดแคลน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ที่สุดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา(ณ 3 เม.ย. 57) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,652 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,852 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,364 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,514 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำที่ใช้การได้ จำนวน 3,893 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯรวมกัน

จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งสองแห่ง ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ คงเหลือปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้เพียงร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯรวมกัน ในขณะที่ยังต้องส่งน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค และการรักษาระบบนิเวศน์ อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ระยะเวลาของฤดูแล้งยังเหลืออีกเกือบ 1 เดือน และยังต้องสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนหน้าที่กำลังจะมาถึงอีกด้วย

ดังนั้น กรมชลประทาน จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะที่ลุ่มภาคกลาง ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ย้ำต้อง ขอให้งดทำนาปรังต่อเนื่องในขณะนี้ เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ ในกรณีที่ฤดูฝนของปีนี้มีแนวโน้มว่าอาจจะมาล่าช้ากว่าปกติ รวมทั้ง ภาวะฝนทิ้งช่วงที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของประจำทุกปีด้วย

**************************

3 เมษายน 2557

ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 4,5 เมษายน 2557