วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน วันที่ 22 กรกฎาคม 2557

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำ : เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำไหลลงอ่างฯบ้างแล้ว แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย ย้ำต้องประหยัด

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(22 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,323 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 37,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 57 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,047 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,254 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 331 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 459 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 4,700 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 49 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 137 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่หลายแห่ง แม้จะเริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯบ้างแล้ว แต่ยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากฝนที่ตกลงมา ยังคงมีค่าน้อยกว่าค่าปกติ ทำให้น้ำไหลเข้าอ่างฯต่างๆน้อยตามไปด้วย ดังนั้น จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

22 กรกฎาคม 2557

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 18 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

โครงการผันน้ำฯเจ้าพระยาตะวันออกไปอ่างฯบางพระใกล้แล้วเสร็จ คืบหน้ากว่าร้อยละ 98

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก – อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ด้วยความคืบหน้ากว่าร้อยละ 98 คาดว่าจะช่วยเสริมศักยภาพการใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ รองรับความต้องการใช้น้ำที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตของจังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อปี 2548 ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยอง ซึ่งเป็นเมืองแห่งการเกษตร การท่องเที่ยว และการอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก จนเกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชลบุรี แม้จะมีอ่างเก็บน้ำบางพระ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญ มีความจุเก็บกักน้ำได้สูงสุดถึง 117 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่กลับพบว่ามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเฉลี่ยประมาณ 41 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเท่านั้น จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในพื้นที่ โดยเฉพาะในอนาคตข้างหน้า ที่แนวโน้มความต้องการในการใช้น้ำจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และรองรับปริมาณการใช้น้ำที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินโครงการผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก – อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี โดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบบท่อส่งน้ำ จากคลองพระองค์ไชยานุชิตบริเวณจุดตัดกับมอเตอร์เวย์ พร้อมกับวางท่อผันน้ำขนานไปกับถนนมอเตอร์เวย์ เพื่อส่งน้ำไปเติมให้กับอ่างเก็บน้ำบางพระ ที่อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ปีละประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯนั้น จะทำการสูบน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิตในช่วงฤดูฝน คือ เดือนมิถุนายน – ตุลาคม เพื่อส่งน้ำตามท่อไปเก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำบางพระทั้งหมด ปีละประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในเขตจ.ชลบุรี ซึ่งโดยปกติในช่วง 5 เดือนดังกล่าว จะมีการสูบน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิตทิ้งลงทะเลเกือบปีละ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นการนำน้ำส่วนเกินเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งช่วยลดปริมาณน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากในคลองพระองค์ไชยานุชิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ปัจจุบัน ผลการดำเนินการโครงการผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก – อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 98 คาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งโครงการฯได้ประมาณเดือนมกราคม 2558

*********************************

18 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 15 กรกฎาคม 2557

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : น้ำยังน้อย ต้องช่วยกันประหยัด

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(15 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 32,783 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้อีกกว่า 37,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,007 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,188 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 121 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 254 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 373 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 23 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 34 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 135 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนหลายแห่ง ยังคงมีน้ำค่อนข้างน้อย เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาในพื้นที่เหนือเขื่อน มีค่าน้อยกว่าค่าปกติ จึงทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยตามไปด้วย จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

15 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน10 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : น้ำในเขื่อนยังน้อย เตือนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(10 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 32,663 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 37,600 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,045 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,184 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 227 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 366 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 69 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 134 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่ง ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝนก็ตาม เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมามีค่าน้อยกว่าค่าปกติ ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยตามไปด้วย จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

10 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 9 กรกฎาคม 2557

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

ฝนนี้น้ำน้อย เตือนทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคต

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ฤดูฝนปีนี้ ฝนตกน้อยทั้งในพื้นที่เหนือเขื่อนและใต้เขื่อน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อยตามไปด้วย ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต

ทั้งนี้ จากการติดตามสภาพฝนตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นมา พบว่ามีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าค่าปกติ หรือมีฝนตกในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นฤดูฝนเดือนพ.ค. – มิ.ย. 57 มีปริมาณฝนตกค่อนข้างน้อย สภาพฝนสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. – 6 ก.ค. 57 พื้นที่ภาคเหนือ มีฝนต่ำกว่าค่าปกติ 128.4 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ27 ของค่าปกติ ส่วนในพื้นที่ภาคกลาง มีฝนต่ำกว่าค่าปกติ 134 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของค่าปกติ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำต่างๆในเกณฑ์น้อย และต้องระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าแผนที่วางไว้ เพื่อเสริมน้ำฝนที่ตกน้อยกว่าปกติ จนส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์น้ำล่าสุด(9 ก.ค. 57) เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำใช้การได้ 257 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 327 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำใช้การได้ของทั้งสองเขื่อน จะเห็นได้ว่ามีน้ำเหลือใช้ได้เพียง 584 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ในส่วนของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีน้ำใช้การได้ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 68 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปัจจุบันมีการระบายน้ำจากเขื่อนทั้ง 4 แห่ง ดังกล่าวข้างต้น รวมกันวันละประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร หากคิดการระบายน้ำด้วยอัตราดังกล่าว จะสามารถส่งน้ำได้เพียงประมาณ 15 วันเท่านั้น(กรณีไม่คิดปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ) กรมชลประทาน ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจมีการปรับแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ในการอุปโภค – บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ พร้อมทั้งไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้ดำเนินการเพาะปลูกไปแล้ว

ดังนั้น กรมชลประทาน จึงใคร่ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ รับทราบถึงสถานการณ์น้ำต้นทุนในปัจจุบัน พร้อมทั้งให้รณรงค์ช่วยกันประหยัดน้ำ และขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้น้ำจากเจ้าหน้าที่ชลประทานในพื้นที่ของตนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในระยะต่อๆไป ซึ่งอาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฝนตกน้อยได้ รวมทั้ง ขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วย

********************************************

9 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน2 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำเขื่อนใหญ่ : เหนือเขื่อนฝนยังตกน้อย ส่งผลน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ น้อยตามไปด้วย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(2 ก.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,140 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 37,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 107 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯเขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,187 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,257 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 128 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 199 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 376 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 168 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,100 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 84 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานีมีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของความจุอ่างฯ เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 135 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในเกณฑ์น้อย แม้จะเข้าสู่ฤดูฝนมาได้ระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ซึ่งกรมชลประทานและกฟผ. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับวางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน พร้อมไปกับการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด สำหรับสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้านี้อย่างเพียงพอ

2 กรกฎาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 26 มิถุนายน 2557

 

 

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ : เข้าฝนแล้ว แต่ยังตกน้อย ทำให้น้ำไหลลงอ่างฯน้อยตามไปด้วย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(26 มิ.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,443 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 36,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,304 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,322 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 139 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,600 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 187 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 370 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,200 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 92 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 9ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 146 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาควันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศ แม้ขณะนี้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างน้อย เนื่องจากฝนที่ตกลงมายังอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งกรมชลประทาน ได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานทั่วประเทศ ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน

26 มิถุนายน 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 18 มิถุนายน 2557

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ : ส่วนใหญ่น้ำยังไหลลงอ่างฯในเกณฑ์น้อย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(18 มิ.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 33,800 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ยังสามารถรองรับน้ำในฤดูฝนนี้ รวมกันได้มากกว่า 36,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,450 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,395 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 143 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 16,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 184 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 368 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 94 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 159 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาควันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ปริมาณน้ำยังคงทรงตัว บางแห่งมีน้ำไหลลงอ่างฯบ้างแล้ว แต่หลายแห่งยังมีน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานทั่วประเทศ ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน และให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดด้วย

18 มิถุนายน 2557