วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน วันที่ 27,28,29,30 มีนาคม 2557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน30032557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน29032557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน28032557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน27032557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน วันที่ 26 มีนาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://wmsc.rid.go.th

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชาวแม่ยมร่วมใจกันสู้ภัยแล้ง แม้น้ำจะน้อย ช่วยกันลดความขัดแย้งเรื่องน้ำ ด้วยการแบ่งปันน้ำเป็นรอบเวร

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 นี้ ปริมาณน้ำต้นทุนในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากฝายแม่ยมมีปริมาณน้ำน้อยมาก ทำให้การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งของปีนี้ เป็นไปอย่างรัดกุมและเคร่งครัด แม้กระนั้น ก็ยังพบว่าในบางจุดได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการใช้น้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำที่ฝายแม่ยมได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่ไม่ได้รับน้ำตามรอบเวรการส่งน้ำที่ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ ภายหลังจากเกิดปัญหา นายเมธี วุฒิเจริญ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน และนายนพรัตน์ กัณฑเจตน์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ ได้ประสานงาน ไปยังฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจากฝายแม่ยมทั้งหมด เพื่อประชุมหารือร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติให้เพิ่มระยะเวลาการสูบน้ำของแต่ละอำเภอ(ประกอบด้วย อ.สอง อ.หนองม่วงไข่ และอ.เมืองแพร่) ขึ้นเป็นอำเภอละ 3 วัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือด้านอื่นๆ นอกเหนือจากที่ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม จากแผนหลักของโครงการฯที่ได้สนับสนุนไปก่อนหน้านี้แล้ว จำนวน 33 เครื่อง ยังได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย สำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค 9 เป็นต้น คาดว่าจะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ใช้น้ำในเขตโครงการฯแม่ยมได้ในระดับหนึ่ง จึงขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามกฎกติการอบเวรการส่งน้ำที่ได้ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ตลอดในช่วงฤดูแล้งที่ยังเหลือระยะเวลาอีกกว่า 1 เดือนเศษ

*********************************

26 มีนาคม 2557

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 23 มีนาคม 2557

ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา23032557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน วันที่ 23 มีนาคม 2557

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำท่าจีน23032557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน วันที่ 18 มีนาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

การใช้น้ำยังเกินแผนอย่างต่อเนื่อง ย้ำต้องช่วยกันประหยัดน้ำ ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(18 มี.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 11,142 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 4,446 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 24 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,870 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,070 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,593 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,743 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 312 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 269 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 367 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 364 ล้านลูกบาศก์เมตร

*** ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(18 มี.ค. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 5,627 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 106 ของแผนฯ จะเห็นได้ว่าการใช้น้ำยังคงเกินแผนที่ตั้งไว้ ทั้งที่ ยังเหลือระยะเวลาของฤดูแล้ง อีกกว่า 1 เดือนเศษ

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(ณ 13 มี.ค. 57) พบว่ามีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 9.16 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 180 ของแผนทั้งหมด(แผนกำหนดไว้ 5.09 ล้านไร่) แยกเป็นพื้นที่ทำนาปรัง 8.86 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 187 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก 0.30 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 86 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 0.35 ล้านไร่)

สำหรับการช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง นั้น กรมชลประทาน ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ไว้ทั่วประเทศ จำนวน 1,900 เครื่อง ปัจจุบันได้จัดส่งไปสนับสนุนช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว จำนวน 282 เครื่อง นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมรถยนต์บรรทุกน้ำไว้สนับสนุนภารกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อีกจำนวน 295 คันด้วย จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างเพียงพอ และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

**************************

หมายเหตุ – ฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. – 30 เม.ย. ของทุกปี 18 มีนาคม 2557

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

รายงานสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ 19 มีนาคม 2557

ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา19032557
แหล่งข้อมูล http://water.rid.go.th/hwm/swq/sediment/

ปริมาณน้ำรับเข้าช่วยเจือจางความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 19 มีนาคม 2557

inflow-outflow-sal-chaowpraya19032557

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมลได้รับน้ำจากแม่น้ำท่าจีนเข้าไปเจือจางความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2557 ปริมาณน้ำที่รับเข้า 36.05 ล้าน ลบ.ม.(รับน้ำเข้าที่ปตร.คลองโยงและปตร.มหาสวัสดิ์)และระบายน้ำออกที่ ปตร.ฉิมพลีลงคลองบางกออกน้อย ปริมาณน้ำที่ระบาย 10.38 ล้าน ลบ.ม.

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 13 มีนาคม 2557

 

logorid

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

-----------------------------------------------------------------------------

น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ลดลงต่ำกว่าครึ่งแล้ว เตือนต้องช่วยกันประหยัด ก่อนขาดน้ำ

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(13 มี.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 11,325 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 4,629 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 25 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,949 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,149 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,657 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,807 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 330 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 287 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 389 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 386 ล้านลูกบาศก์เมตร

*** ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(13 มี.ค. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 5,404 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 102 ของแผนฯ จะเห็นได้ว่าการใช้น้ำเริ่มเกินแผนที่ตั้งไว้ ในขณะที่ยังเหลือระยะเวลาของฤดูแล้ง อีกกว่าเดือนครึ่ง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ที่สำคัญๆ อย่างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ต่ำกว่าครึ่งอ่างฯแล้ว แต่แนวโน้มการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนเฉพาะการอุปโภค – บริโภค และการรักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก จึงขอให้ช่วยกันประหยัดน้ำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และยังจะเป็นการลดการนำน้ำที่สำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ มาใช้ให้น้อยที่สุดอีกด้วย

*********************************

หมายเหตุ – 1. ฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. – 30 เม.ย. ของทุกปี 13 มีนาคม 2557

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 11 มีนาคม 2557

logorid

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา : หน้าแล้งเหลืออีกกว่าเดือนเศษ แต่การใช้น้ำเต็มแผนที่กำหนดแล้ว

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(11 มี.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 11,389 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 4,693 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 26 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,972 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,172 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,682 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,832 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 336 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 293 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 399 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 396 ล้านลูกบาศก์เมตร

*** ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(11 มี.ค. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 5,318 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 100 ของแผนฯ หรือใช้น้ำเต็มแผนที่ตั้งไว้แล้ว ในขณะที่ระยะเวลาของฤดูแล้งยังคงเหลืออีกกว่าเดือนครึ่ง ทำให้ต้องดึงน้ำที่สำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนหน้านี้มาใช้ จึงขอให้ช่วยกันประหยัดน้ำอย่างจริงจังด้วย

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(ณ 6 มี.ค. 57) พบว่ามีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 9.09 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 179 ของแผนทั้งหมด(แผนกำหนดไว้ 5.09 ล้านไร่) แยกเป็นพื้นที่ทำนาปรัง 8.79 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 185 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก 0.30 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 86 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 0.35 ล้านไร่)

สำหรับค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้(11 มี.ค. 57) วัดได้ตามสถานีต่างๆได้แก่ สถานีวัดน้ำกรมชลประทาน สามเสน 6.34 กรัมต่อลิตร สถานีวัดน้ำท่าน้ำนนท์ 3.45 กรัมต่อลิตร และสถานีวัดน้ำสำแล(โรงสูบน้ำดิบของการประปานครหลวง) 0.30 กรัมต่อลิตร(เกินค่าปกติเล็กน้อย) ทั้งนี้ กรมชลประทาน ยังคงผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีปริมาณน้ำมากลงมาเจือจางความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง

*********************************

หมายเหตุ – 1. ฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. – 30 เม.ย. ของทุกปี

2. ค่าความเค็มผลิตน้ำประปาต้องไม่เกิน 0.25 กรัมต่อลิตร และการเกษตร ไม่เกิน 2 กรัมต่อลิตร

11 มีนาคม 2557

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 6 มีนาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กรมชลฯยังคงมาตรการผันน้ำจากแม่กลอง ผลักดันน้ำเค็มเจ้าพระยา ช่วยโรงสูบน้ำดิบสำแล

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา จนทำให้ค่าความเค็มที่วัดได้ มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการสูบน้ำดิบของการประปานครหลวง ซึ่งต่อมากรมชลประทานและการประปานครหลวงได้ร่วมมือกันในการวางแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการใช้มาตรการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ที่มีปริมาณน้ำมากลงมาผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา จนส่งผลให้สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาดีขึ้นโดยลำดับ นั้น

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(6 มี.ค. 57) ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา วัดได้ตามสถานีต่างๆ ดังนี้ สถานีวัดน้ำท่าน้ำกรมชลประทาน สามเสน วัดได้ 5.61 กรัมต่อลิตร สถานีวัดน้ำบริเวณท่าน้ำนนท์ จ.นนทบุรี วัดได้ 3.54 กรัมต่อลิตร และจุดสำคัญที่สถานีวัดน้ำโรงสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี ของการประปานครหลวง วัดได้ 0.20 กรัมต่อลิตร อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำประปาหล่อเลี้ยงคนเมืองหลวงกว่า 10 ล้านคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ยังคงมาตรการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ลงสู่แม่น้ำท่าจีน และจากแม่น้ำท่าจีนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถผลักดันและลดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงสูบน้ำดิบสำแล ของการประปานครหลวงได้เป็นอย่างมาก โดยจะดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามจังหวะการขึ้น – ลงของน้ำทะเล เพื่อให้การผลักดันน้ำเค็มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูแล้ง หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำแล้ว จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

*********************************

6 มีนาคม 2557

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน 3 มีนาคม 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา : น้ำใช้การเหลือไม่ถึงร้อยละ 10 ขอให้ช่วยกันประหยัดน้ำจริงจัง

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(3 มี.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 11,697 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 5,001 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 28 ของปริมาณน้ำทั้งหมด

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,105 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,305 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,801 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,951 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 355 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 312 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 436 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 433 ล้านลูกบาศก์เมตร

ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(3 มี.ค. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 4,943 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 93 ของแผนฯ คงเหลือปริมาณน้ำที่จะใช้ได้ตามแผนฯ อีกประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของแผนฯ จะเห็นได้ว่าน้ำใช้การได้ตามแผนเหลือไม่ถึงร้อยละ 10 จึงขอให้ช่วยกันประหยัดอย่างจริงจังด้วย

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระย ล่าสุด(ณ 20 ก.พ. 57) พบว่ามีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 9.02 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 177 ของแผนทั้งหมด(แผนกำหนดไว้ 5.09 ล้านไร่) แยกเป็นพื้นที่ทำนาปรัง 8.73 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 184 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก 0.29 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 0.35 ล้านไร่)

สำหรับค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้(3 มี.ค. 57) วัดได้ตามสถานีต่างๆได้แก่ สถานีวัดน้ำกรมชลประทาน สามเสน 6.29 กรัมต่อลิตร สถานีวัดน้ำท่าน้ำนนท์ 3.88 กรัมต่อลิตร และสถานีวัดน้ำสำแล(โรงสูบน้ำดิบของการประปานครหลวง) 0.20 กรัมต่อลิตร ทั้งนี้ กรมชลประทาน ยังคงผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีปริมาณน้ำมากลงมาเจือจางความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง

*********************************

หมายเหตุ – 1. ฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. – 30 เม.ย. ของทุกปี

2. ค่าความเค็มผลิตน้ำประปาต้องไม่เกิน 0.25 กรัมต่อลิตร และการเกษตร ไม่เกิน 2 กรัมต่อลิตร

3 มีนาคม 2557