วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน


ข่าวสถานการณ์น้ำชลประทาน
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา น้ำใช้การไปแล้วเกือบร้อยละ 80 ขอให้ช่วยกันประหยัดน้ำจริงจัง
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(17 ก.พ. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 12,330 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 5,634 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำทั้งหมด
สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,388 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,588  ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,047 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,197 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 388 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 345 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 507 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 504 ล้านลูกบาศก์เมตร
                ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(17 ก.พ. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 4,180 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79 ของแผนฯ คงเหลือปริมาณน้ำที่จะใช้ได้ตามแผนฯ อีกประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของแผนฯ
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(ณ  6 ก.พ. 57) พบว่ามีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 8.94 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 176 ของแผนทั้งหมด(แผนกำหนดไว้ 5.09 ล้านไร่) แยกเป็นพื้นที่ทำนาปรัง 8.65 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 182ของแผน(แผนกำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก 0.29 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 0.35 ล้านไร่)
อนึ่ง ปัจจุบันพบว่าพื้นที่ทำนาปรังในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้มีการเพาะปลูกเกินแผนไปแล้วกว่า 2 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 202 ของแผนฯ ซึ่งกรมชลประทาน ได้มีมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรโดยการปรับแผนการส่งน้ำเพิ่มมากขึ้น ด้วยการดึงน้ำที่สำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนมาใช้บางส่วน เพื่อให้ต้นข้าวของเกษตรกรที่ใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยว ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ไม่ขาดน้ำหรือยืนต้นตาย ทั้งนี้ หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบแรกแล้วเสร็จ  ขอย้ำให้เกษตรกรให้ความร่วมมือในการงดทำนาปรังครั้งที่ 2 อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ เพียงพอใช้ไม่ขาดแคลน
*********************************
หมายเหตุ –  ฤดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. – 30 เม.ย. ของทุกปี                                                                                                                                                                                                                             17  กุมภาพันธ์  2557

ไม่มีความคิดเห็น: